10 กรรมสิทธิ์ขั้นพื้นฐานคอนโดที่คนเป็นเจ้าของต้องรู้!

10 กรรมสิทธิ์ขั้นพื้นฐานคอนโดที่คนเป็นเจ้าของต้องรู้!

สำหรับผู้ที่ซื้อคอนโดใหม่ทุกคน จะได้รับเอกสารยืนยันจากหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือ อ.ช.2 เป็นการถือสิทธิ์ร่วมกับเจ้าของโครงการในทุกพื้นที่ของคอนโด ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์ส่วนกลางหรือทรัพย์ส่วนบุคคลอย่างห้องชุดที่ซื้อ หากเกิดได้รับเหตุไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นกับคอนโด ผู้ซื้อจะได้ส่วนแบ่งจากโครงการคอนโดที่ซื้อเช่นกัน

1. ผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นเจ้าของร่วมกัน
เมื่อคุณได้ทำการซื้อคอนโดใหม่และเป็นเจ้าของเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว แต่พบว่าการบริหารงานของคอนโดมีข้อผิดพลาด มีข้อบกพร่องที่ทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ ดังนั้นกรรมสิทธิ์คอนโดทั้งข้อบังคับและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดให้อำนาจแก่ที่ประชุมใหญ่ สำหรับเจ้าของร่วม (ผู้ซื้อและผู้ขาย) สามารถแต่งตั้งหรือถอดถอน คณะกรรมการ หรือผู้จัดการนิติบุคคลได้ทันที

2. การตั้งนิติบุคคลจำเป็นต้องมีผู้ซื้อและผู้ขาย เข้าร่วมประชุม
สำหรับการจัดตั้งนิติบุคคล ผู้ซื้อและผู้ขายมีหน้าที่ตรวจสอบกำกับดูแลมอบนโยบายการบริหารงาน และจัดตั้งนิติบุคคล โดยตามรายละเอียด พ.ร.บ. อาคารชุด กำหนดให้มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 9 คน ทั้งนี้ทุกนิติฯ จำเป็นต้องมีอยู่ทุกที่ กรรมการจะเป็นทั้งตัวแทนฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย มีอำนาจควบคุมตรวจสอบดูแลมอบนโยบายการบริหารงานให้สอดคล้องกับมติที่ประชุมหลังจากที่ได้มีการประชุมใหญ่ก่อนหน้านั่นเอง

3. ผู้ซื้อมีสิทธิ์ตกแต่งห้องภายในห้องได้
สำหรับกรรมสิทธิ์คอนโดข้อนี้ ผู้ซื้อทราบดีอยู่แล้วว่าหากได้ทำการซื้อคอนโดใหม่สามารถตกแต่งห้องชุดได้ แต่ต้องทำการแจ้งนิติบุคคลทุกครั้งด้วยเช่นกัน

4. ผู้ซื้อไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงสภาพภายนอกคอนโด
สำหรับผู้ที่ซื้อคอนโดใหม่และมีแพลนกำลังที่จะตกแต่งหรือเปลี่ยนแปลงสภาพภายนอกคอนโด ในมุมของกำแพงทางเดิน ผนังคอนโดในพื้นที่ส่วนกลาง รวมถึงประตูคอนโดและอีกฝั่งของระเบียงห้องของเราด้วย จะถือว่ากระทำความผิดตามข้อบังคับ มีโทษปรับเป็นเงิน 100,000 บาทขึ้นไป หากใครที่เพิ่งซื้อคอนโดใหม่และยังไม่แน่ใจในสิทธิข้อดีก่อนทำการตกแต่งใด ๆ สามารถแจ้งหรือถามทางนิติให้มั่นใจก่อน

5. ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงค่าส่วนกลาง เจ้าของร่วมร่วมโหวต
อีกหนึ่งกรรมสิทธิ์คอนโดที่ผู้อาศัยต้องรู้ คือ เจ้าของร่วมสามารถลงคะแนนเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวได้ตามข้อบังคับและกฎหมาย และแจ้งว่าทำไมจึงมีการเปลี่ยนแปลงค่าส่วนกลาง หากในที่ประชุมเสียงไม่เห็นด้วยเกินครึ่งก็จะถูกปัดตก

6. มีสิทธิ์ขอดูบัญชี รายรับ-รายจ่าย
ผู้จัดการนิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลงบบัญชีรายรับรายจ่ายของคอนโด สำหรับผู้ที่ซื้อคอนโดใหม่และเป็นเจ้าของแล้วมีสิทธิที่จะเรียกดูได้ โดยผู้จัดการนิติบุคคลต้องมีหน้าที่ดำเนินการตามข้อบังคับและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หากฝ่าฝืนหรือกระทำความผิด จะถูกปรับไม่น้อยกว่า 50,000 บาทและปรับอีก 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง

7. ผู้ซื้อมีสิทธิ์สมัครเป็นกรรมการนิติบุคคลได้
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่อยากมีส่วนในการรับผิดชอบในส่วนงานด้านต่าง ๆ ของทางคอนโดนั้น การสมัครเป็นกรรมการนิติบุคคลหากมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับและกฎหมายอาคารชุดกำหนด ก็สามารถสมัครเป็นกรรมการนิติบุคคลได้เลย

8. สิทธิของผู้ซื้อในการแสดงความคิดเห็น
ผู้ซื้อสามารถแสดงความคิดเห็น แนะนำแนวทางปฏิบัติงานในที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคล หรือที่ประชุมเจ้าของร่วมได้ทุกเมื่อ

9. มีสิทธิ์การกำหนดกฎระเบียบในคอนโด
กรรมสิทธิ์คอนโด นี้สามามองได้ว่าแต่ละคอนโดมีกฎและข้อบังคับที่แตกต่างกัน โดยที่ผู้ที่ซื้อคอนโดสามารถกำหนดกฎระเบียบและข้อควรปฏิบัติ เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินส่วนกลาง หรือทรัพย์ส่วนบุคคลเพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม โดยต้องผ่านความเห็นชอบจากการประชุมคณะกรรมการ

10. สิทธิ์ของผู้ซื้อสามารถยกเลิกนิติบุคคล เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลใหม่
ผู้ที่ซื้อคอนโดใหม่หรือเป็นเจ้าของอยู่แล้วสามารถร่วมลงมติในที่ประชุมใหญ่ เพื่อยกเลิกนิติบุคคลหากมีการกระทำผิดกฎตามที่ข้อบังคับและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กำหนดจากคะแนนเสียงที่กำหนดไว้ รวมไปถึงการเปลี่ยนนิติบุคคลเมื่อหมดสัญญาด้วย

หมายเหตุ : ทั้งนี้จะเป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่เท่านั้น

.

ขอขอบคุณ cr : leowood.com